พูดถึงหมอนรองกระดูก .... คุณคิดว่ามันเสี่ยงต่อปัญหาอะไรได้บ้าง?
หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม (Degenerative disc)
เป็นภาวะที่สามารถพบได้ในผู้สูงอายุ ที่มีความเสื่อมเกิดขึ้นในร่างกายตามวัยที่สูงขึ้น แต่เชื่อหรือไม่ว่า อาการปวดหลังเรื้อรังนั้นพบมากขึ้นในทุกช่วงอายุ ตั้งแต่ 25 – 50 โดยพบว่าในกลุ่มช่วงอายุนี้นั้นมีอัตรการเกิดภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อมนี้สูงที่สุดอีกด้วย
?หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated Nucleus Pulposus)
ถ้าจู่ๆคุณมีอาการปวดหลัง ขาชา ตึงหลัง เดินลำบากละก็ เชื่อว่าโรคแรกๆที่จะนึกถึงคงไม่พ้น "หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท" อย่างแน่นอน แต่ส่วนใหญ่เราจะเรียกกันสั้นๆว่า"กระดูกทับเส้น" จริงๆกระดูกมันไม่ได้ทับเส้นนะค่ะ หมอนกระดูกครับหมอนรองกระดูกมันทับเส้นประสาท
เรายังสามารถแบ่งระดับความรุนแรงของหมอนรองกระดูกทับเส้นได้ 4 ระดับ
ระดับที่ 1 : Bulging disc
คือ การเคลื่อนของหมอนรองกระดูกมาทางด้านหลังไม่เกิน 3 มิลลิเมตร และตัว annulus fibrosus ยังปกติ
ระดับที่ 2 : Protrusion
คือ การเคลื่อนของหมอนรองกระดูกมาทางด้านหลังมากกว่า 4 มิลลิเมตร และตัวสารนํ้าอยู่ชิดกับขอบนอกของ annulus fibrosus แต่ยังไม่ทะลุออกมา ระยะนี้ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการปวดหลัง ขาชาเป็นๆหายๆ
ระดับที่ 3 : Extrusion
คือ มีการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกมาทางด้านหลัง มากกว่า 8 มิลลิเมตร และมีสารนํ้าภายในหมอนรองทะลุออกมาจาก annulus fibrosus แต่ก็ยังคงมีการเชื่อมติดกันอยู่ ระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการอวดคงที่ ขาชาตลอดเวลา
ระดับที่ 4 : Sequestration
คือ ภาวะที่หมอนรองกระดูกเคลื่อนออกมาจาก annulus fibrosus เต็มที่ และไม่มีการเชื่อมติดกันของหมอนรองกระดูกที่ออกมากับที่อยู่ภายใน ระยะนี้ถือว่าร้ายแรงที่สุดผู้ป่วยมัดเข้ารับการผ่าตัดในระยะนี้เพราะทนอาการปวดไม่ไหว
การรักษาด้วยศาสตร์ไคโรแพรกติก เป็นแพทย์ทางเลือกอีกศาสตร์หนึ่งที่สามารถช่วยดูแลผู้ที่มีภาวะหมอนรองกระดูกมีปัญหา โดยก่อนการเข้ารับการรักษาคนไข้อาจจะต้องนำเอาผลMRIเข้ามาให้คุณหมอดูด้วย เพื่อให้การวินิจฉัยที่แม่นยำขึ้น
สอบถามเพิ่มเติม
ข้อมูลเพิ่มเติ่ม
www.facebook.com/Painfree4you